Support
กาญจนา ผ้าไทย
0800909939
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ผ้าทอตีนจกเมืองลอง

วันที่: 2012-10-16 12:18:40.0

ผ้าทอตีนจกเมืองลอง

          การที่เมืองลองเป็นชุมชนโบราณ ที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นเวลานานหลายร้อยปี ทำให้ชาวเมืองลองสั่งสมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ชาวเมืองลองในอดีตใช้เสื้อผ้าที่ทอขึ้นใช้เอง และในบรรดาผ้าที่ทอขึ้นนี้มีผ้าทอตีนจกเป็นผ้าที่สวยงามและมีคุณค่าใน ปัจจุบันได้กลับมาอยู่ในความนิยมของประชาชน สร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอลองและจังหวัดแพร่ ช่างทอตีนจกจากเมืองลอง ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติในปี พศ. 2553 (คุณ ประนอม ทาแปง) และผ้าทอตีนจกได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านใน เมืองลองมากขึ้น เป็นทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่สำคัญในท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์ไว้

 

ความหมายของ ตีนจก

ตีนจก เป็นผ้าทอมือของชาวบ้านที่ทอขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปต่อเป็นเชิงผ้าถุง ทำให้ผ้าถุงหรือที่ชาวบ้านภาคเหนือเรียกว่า ซิ่นมีความสวยงามแสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สวมใส่ ผ้าซิ่นที่ต่อเชิงด้วยผ้าทอตีนจก มีชื่อเรียกว่า ซิ่นตีนจก

คำว่า “ตีนจก เป็นการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน คือคำว่า ตีน และ คำว่า จก ซึ่งคำว่า ตีนมาจาก ตีนซิ่น ส่วนคำว่า จกเป็นคำกิริยาในภาษาพื้นเมืองภาคเหนือหรือภาษาไทยวน ซึ่งหมายถึง การล้วง และในการทอผ้าชนิดนี้ของชาวไทยวนจะมีลักษณะการทอลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้ขนเม่น หรือไม้แหลมจกหรือล้วงเส้นด้ายสีต่างๆ ให้เป็นลวดลายตามที่กำหนดไว้ ผ้าที่ทอจึงมีชื่อว่า ผ้าจกและเมื่อทอเพื่อนำไปต่อเป็นเชิงผ้าถุงจึงได้ชื่อว่า ผ้าตีนจก

 

ผ้า ตีนจกฝีมือช่างทอผ้าเมืองลองในอดีต จะมีความกว้างประมาณ 10 นิ้ว มีลวดลายจกยาวประมาณ 2 ใน 3 ของตีนซิ่น ส่วนปลายล่างสุดต่อจากลวดลายจกยาวประมาณ 2 ใน 3 ของตีนซิ่น ส่วนปลายล่างสุดต่อจากลวดลายเป็นผ้าพื้นสีแดง สีของผ้าแต่เดิมนิยมใช้สีเหลือง-แดง เป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันพัฒนาหลากสีมากขึ้

 

ตัวอย่างผ้าทอตีนจกในอดีต

ตัวอย่างผ้าทอตีนจกในปัจจุบัน

 

 

          นอกจากนี้หลักฐานการใช้ผ้าทอตีนจกเมืองลอง ในการแต่งกายของชาวเมืองลองยังปรากฏมานานนับร้อยปี หลักฐานนี้คือภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วัดเวียงต้า อำเภอลอง ฝีมือช่างพื้นบ้านที่มีความงามไม่ด้อยไปกว่าภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารที่วัด ภูมินทร์ จังหวัดน่าน จิตรกรรมเวียงต้าเป็นภาพวิถีชีวิตความเชื่อการแต่งกายของชาวบ้านเวียงต้า ซึ่งเป็นคนเมืองลองในยุคนั้น จากภาพจะเห็นผ้าถุงที่ผู้หญิงในภาพ ใช้สวมใส่เป็นซิ่นตีนจก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลวดลายผ้าตีนจกเมืองลอง

ตัวอย่างลวดลายผ้าตีนจกเมืองลองในปัจจุบัน

                1. ลายโบราณ เป็นลายที่ช่างทอผ้าตีนจกในอดีตคิดค้นไว้ ลักษณะมีลายหลัก 1 ลาย และมีลายประกอบ 2-3 ลาย ตัวอย่างลายโบราณ เช่น

 

1.       2.ลายประยุกต์ เป็น ลายที่ดัดแปลงจากลายโบราณ แล้วนำมาประสมกันใหม่ให้สีสันหลากหลายสวยงาม ลักษณะเด่นของผ้าทอตีนจกลายประยุกต์คือ จะมีลวดลายหลายลายในผืนเดียวกัน ตัวอย่างลายประยุกต์ในปัจจุบัน เช่น

 

ขอขอบคุณ ที่มาจากหนังสือ ผ้าทอตีนจกเมืองลอง จังหวัดแพร่ จัดทำโดยศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ โรงเรียนนารีรัตน์